Description
Phra Kru Wat Thap Phueng – Pim Sum Chinraat BE 2473
Phra Kru Wat Thap Phueng”, Thap Phueng Subdistrict, Si Samrong District Sukhothai Province.
I would like to introduce you to an amulet from Sukothai province, known as Phra Kru, Wat Tap Phueng. These pims were not discovered until recently when excavation work at the temple caused damage to a chedi in the monastry compound revealing a secret Kru containing these amulets made up of three different styles of pim.
However it would appear according to local accounts that this was not the first time that a temple chedi had been opened to reveal these amulets.
Although the exact history behind these amulets is not known for certain there is good evidence to suggest they were blessed by Ajahn On, a previous Abbot, in BE 2473. Locals tell a story about the temple that has been passed down through the generations.
A local villager named Nai Dao Fak Feuang was out in the fields trapping wild animals when he spotted a rabbit in proximity to the temple. He fired at the animal but his gun failed to discharge any ammunition. This account quickly circulated the village after it was suggested that there were possibly ancient amulets or other religous artifacts buried within the vicinity, powerful enough it seems to have prevented the animal being shot.
Although this was widely believed no attempt was made to discover the possible whereabouts of the relics, that is until another similar event occurred shortly afterwards. A cattle thief on the run from a posse of locals hid himself in a spot very close to the location that the rabbit had a lucky escape previously, and again firearms malfunctioned.
The evidence was now overwhelming and it was generally asumed that the cause was indeed religous objects and probably contained within the temple Chedi close by. The temptations were now sufficient enough to encourage opportunist thieves to break into the chedi looking for treasure. Fortunately this break in was discovered early enough to prevent any major loss.
The Kru was opened officially and the amulets recovered and given the name Phra Kru Wat Tap Peung. The three type of pims discovered were.
1. Pra Neua Din Pow See Mor Mai.
2. Pra Neua Dam Pong Bailan
3. Pra Neua Samrit
These antique pims from Sukothai province are considered to be a provincial treasure because of the beautiful art exhibiting strong clarity and depth. The majority of the pims, of which few are in circulation, were made from Neua Din Pow such as the example we have on offer here. A much lesser quantity were made from Neua Samrit, a bronze amalgam.
As mentioned previously it is believed that these amulets were blessed by a former abbot of the temple as a few had been engraved with a name and date, Ajahn On, BE 2473, making these amulets about 85 years old, consistant with the style and composition.
The former chedi was repaired by the temple committee and a significant number of amulets were returned to their original home.
This particular amulet is called Pim Sum Chinraat and features the Buddha in meditation under a sacred arch. It is further identified as Pim Chanok because it swells up from the base. Similar pims with a yant to the reverse are known as Pim Kanaen.
พระชินราช หลังเรียบ เนื้อดิน กรุทับผึ้ง จ.สุโขทัย ปี2473
พระกรุวัดทับผึ้ง” ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย อนุสนธิจากประวัติการค้นพบจนเรียกขึ้นต้นว่า “พระกรุ” นั้น เนื่องจาก มีการขุดพบพระเครื่องในองค์เจดีย์ในบริเวณวัด ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 องค์ด้วยกัน และเป็นศิลปะร่วมสมัยครับผม มีผู้เล่าสืบต่อมาว่า มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นายดาว ฟักเฟื่อง ไปดักยิงกระต่ายตอนกลางคืนที่บริเวณเจดีย์ โดยใช้ไฟฉายล่อให้กระต่ายเล่นไฟ แต่เมื่อยิงกระสุนปืนออก ปรากฏว่าปืนไม่ลั่น จนเป็นเรื่องเล่าลือถึงอิทธิฤทธิ์พระเครื่องที่อยู่ในเจดีย์ แต่ยังไม่มีใครกล้าเข้าไปขุด กระทั่งครั้งหนึ่ง เกิดเหตุโขมยวัวชาวบ้านขึ้น แล้วคนร้ายหนีไปหลบซ่อนอยู่แถวพระเจดีย์ ชาวบ้านกว่าสิบคนช่วยกันค้นหาและล้อมจับ แต่เมื่อลั่นกระสุนปืนออกไป ปืนนับสิบกระบอกก็ไม่ลั่น จนเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นและกล่าวขานกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องในองค์เจดีย์ ต่อมาจึงมีการลักลอบขุดกรุพระเพื่อหาพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว จนร้อนถึงคณะกรรมการวัดต้องตัดสินใจเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าพบพระเครื่องจำนวนมาก จึงเรียกกันตามชื่อวัดว่า “พระกรุวัดทับผึ้ง” พระกรุวัดทับผึ้ง ที่ขุดพบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่มีเนื้อดินละเอียด และพบพระเนื้อสัมฤทธิ์ปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย โดยสามารถแยกพระเครื่องที่พบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. พระเนื้อดินเผาสีหม้อใหม่ 2. เนื้อสีดำผงใบลาน 3. เนื้อสำริด พระกรุวัดทับผึ้ง เป็นพระพิมพ์มีศิลปะงดงาม และมีความคมความลึกของพิมพ์ อันนับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อมีการสืบประวัติกันในภายหลังแล้วสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าได้สร้างแล้วบรรจุไว้ ดังเช่น องค์พระบางองค์มีการกดพิมพ์เป็นตัวอักษรจารึกไว้ว่า “อาจารย์อ้นสร้างไว้ พ.ศ.๒๔๗๓” เป็นต้น และต่อมาคณะกรรมการวัดได้บูรณะองค์เจดีย์ขึ้นอีกครั้งจนเป็นที่เรียบร้อย จึงได้นำพระเครื่องบางส่วนบรรจุเข้าไว้ในกรุเจดีย์ดังเดิม “พระกรุวัดทับผึ้ง” มีมากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่ได้ต้นเค้าจากพระพุทธชินราช จึงทำเป็นรูปพระพุทธในซุ้มชินราช โดยประทับนั่ง ปางมารวิชัยบ้าง ปางสมาธิบ้าง บางพิมพ์ทำนูนขึ้นมาเรียก “ชินราชนอก” ถ้าด้านหลังมียันต์ นับเป็น “พระคะแนน” บางพิมพ์เป็นพระประทับยืน สืบสานศิลปะสุโขไทยในปางลีลา ปางห้ามญาติ ในด้านพุทธคุณนั้น จะเน้นหนักไปทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ถึงขนาดยิงไม่เข้าฟันไม่ออกเลยทีเดียวนับเป็นพระกรุที่น่าสนใจสะสมพิมพ์หนึ่งของจังหวัดสุโขทัย #ขอบคุณข้อมูลคอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง โดยอาจารย์ ราม วัชรประดิษฐ์